วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนบทความวิจัย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนบทความวิจัย
ความหมายของบทความวิจัย
บทความวิจัยเป็นการประมวลสรุปการทำวิจัยให้มีความกระชัดเพื่อใช้ในการนำเสนอในการประชุมทางวิชาการหรือในวารสารทางวิชาการและถือว่าบทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการประเภทเดียวกับรายงานการวิจัยแต่มีขนาดสั้นกว่ารายงานผลการวิจัยทั้งเล่ม
ความสำคัญของการเขียนบทความวิจัย
บทความวิจัยเป็นงานเขียนทางวิชาการที่ช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เป็นการเพิ่มประวัติและผลงานแก่ผู้เขียน สร้างสถานภาพให้แก่หน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด  บทความวิจัยจึงมีคุณค่าต่อนักวิชาการในการผสมผสานความรู้ในอดีตและความรู้ใหม่จากผลงานวิจัย และที่สำคัญคือผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ได้มาตรฐานนั้น ผู้วิจัยสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาการประเมินภาระงาน และการประเมินผลงานทางวิชาการในระดับผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  ดังประกาศของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบนอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เรื่องมาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น  และสำหรับหน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัยสามารถนำงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารในรูปแบบบทความวิจัยไปใช้สำหรับรับการตรวจประกันคุณภาพทางการศึกษาของสำนักงานมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.)
ลักษณะของบทความวิจัยที่ดี
บทความวิจัยมีลักษณะเป็นงานเขียนทางวิชาการมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
  1. มีความแม่นยำถูกต้อง (accuracy) หมายถึง เนื้อหาบทความมีความถูกต้องทั้งใน
    ด้านวิชาการและการใช้ภาษาที่ถูกต้องเป็นมาตรฐาน และมีการใช้เหตุผลทางวิชาการในการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
  1. มีความกระจ่างชัดเจน (clarity) คือบรรยายอย่างกระจ่างชัด มีความละเอียดลออ
    ปราศจากข้อสงสัย ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงกันโดยไม่ต้องมีการตีความ
  1. มีความต่อเนื่อง (continuity) เนื้อหาบทความมีความต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ
    ทั้งลำดับความ ย่อหน้า มีระเบียบจากเหตุไปหาผล ลำดับตามเวลา ตามเหตุการณ์
  1. มีความกระทัดรัด (concisence) การใช้ถ้อยคำ สำนวน ประโยค สั้นกระทัดรัด แต่ละ
    ย่อหน้ามีความยาวเหมาะสม ไม่เยิ่นเย้อเกินไป ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษา
  1. มีความคงเส้นคงวา (consistency) มีการใช้ภาษา คำศัพท์ สม่ำเสมอตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่กระโดดไป กระโดดมา เช่น ใช้ พ.ศ. บ้าง ค.ศ. บ้าง ใช้หน่วยวัดเป็นปอนด์บ้าง หน่วยเป็นระบบเมตริกกิโลกรัมบ้าง ต้องใช้ให้เหมือนกับตลอดเรื่องเช่นในการอ้างวารสารไทยใช้ พ.ศ. การอ้างวารสารต่างประเทศ ใช้ ค.ศ.  เป็นต้น
  2. มีการอ้างอิง (reference) ที่เป็นสากลทั้งการอ้างอิงในเนื้อหาและรวมรายการเอกสาร
    อ้างอิงที่ครบถ้วน และใช้ระบบเดียวกันทั้งเรื่อง
รูปแบบการจัดพิมพ์บทความวิจัย
ในวารสารที่ได้มาตรฐานนอกจากมีการกำหนดระยะเวลาการพิมพ์เผยแพร่แน่นอนมี peer review และมีลักษณะอื่น ๆ ที่เป็นไปตามเกณฑ์ของ ISI (Institute for  Scientific Information) สกอ.(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) หรือ สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) แล้วบทความที่ลงตีพิมพ์ต้องได้มาตรฐานด้วย นอกจากเนื้อหางานวิจัยมีคุณค่า มีประโยชน์แล้วจะต้องมีการจัดพิมพ์ให้เป็นไปตามฟอร์มของวารสารด้วย ตามปกติวารสารต่าง ๆ จะมีหน้าที่เป็นข้อแนะนำการส่งต้นฉบับเพื่อให้บทความทุกเรื่องมี      การรูปแบบการพิมพ์เหมือนกันทุกบทความ จะเป็นการเพิ่มมาตรฐานทางวิชาการให้แก่วารสารนั้นด้วย
กระบวนการกลั่นกรองบทความวิจัย (Review Process)              
วารสารที่ได้มาตรฐานมีหลักการที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันในการกลั่นกรองบทความวิจัยโดยบทความวิจัยที่ขอส่งลงตีพิมพ์ในวารสารมีเงื่อนไขคือ
  1. ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน
  2. ต้องไม่ใช่บทความวิจัยที่รอการพิจารณาจากวารสารอื่น
  3. ต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิ(peer-reviewer)ในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 – 3 คนขึ้นอยู่กับนโยบายของวารสารแต่ละฉบับ
  4. ได้รับการยอมรับให้ลงตีพิมพ์ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบรรณาธิการและถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
  5. ผู้เขียนบทความเป็นผู้รับผิดชอบความคิดเห็นที่ปรากฏที่ลงตีพิมพ์
  6. ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของวารสาร
ประเด็นที่ทำให้ผลงานวิชาการลดค่า (ไพฑูรย์ สินภารัตน์. 2552)
  1. การลอกเลียนคนอื่นโดยไม่อ้างอิง
  2. นำข้อมูลมา ปะ โปะ เปะ เท่านั้น
  3. รวบรวมโดยไม่เรียบเรียง
  4. ขาดการวิเคราะห์สังเคราะห์
  5. ไม่มีการเสริมเพิ่มเติมด้วยประสบการณ์หรืองานวิจัยของผู้เขียน
  6. เนื้อหา ห้วน สั้น ไม่ครบถ้วนตามที่ควรจะเป็นในสาขาวิชา
  7. ไม่มีการเสริมเพิ่มเติมด้วยรูปภาพ กราฟ ตาราง
  8. เขียนด้วยภาษาที่สับสน วนไปวนมา ไม่ต่อเนื่อง
  9. การอ้างอิงไม่ครบ ไม่ถูก ไม่สอดคล้องกันทั้งเล่ม
  10. ไม่มีจุดเด่น เอกลักษณะ และตัวตนของผู้เขียนเลย
  11. การจัดพิมพ์ที่ขาดการดูแลให้สวยงาม เหมาะสม สอดคล้องกับหลักการของตำรา หนังสือ หรือบทความที่ดี
ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ (Manuscript Requirements)
วารสารที่ได้มาตรฐานมีข้อกำหนดการจัดทำต้นฉบับที่ใกล้เคียงกัน คือ
  1. หัวข้อหลักในส่วนต้นของบทความวิจัยประกอบด้วย ชื่อเรื่อง  ชื่อผู้เขียนทุกคน บทคัดย่อ   คำสำคัญ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  2. ในส่วนเนื้อหาของบทความประกอบด้วยหัวข้อ บทนำ วิธีดำเนินการวิจัย  ผลการวิจัย  อภิปรายผล สรุปผลและข้อเสนอแนะ
  3. ในส่วนท้ายบทความประกอบด้วย เอกสารอ้างอิง และกิตติกรรมประกาศ
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ในการเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้มาตรฐานระดับชาติผู้เขียนบทความต้องเลือกวารสารเป้าหมายให้ตรงกับผลงานวิจัยก่อนโดยพิจารณาขอบเขตเนื้อหาของวารสารนั้นมีจุดเน้นให้ลงบทความในสาขาใดและเนื้อหาวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือนโยบายของวารสารนั้นหรือไม่ ถ้าเนื้อหาที่จะส่งลงตีพิมพ์มีความสอดคล้องกับนโยบายของวารสาร จึงทำหารศึกษาข้อแนะการเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับต่อไป ส่วนมากแล้วข้อเสนอแนะ คำแนะนำ เงื่อนไข หรือข้อกำหนดของวารสาร    ต่าง ๆ จะปรากฏอยู่ในปกหน้าด้านในหรือก็ปรากฏที่ปกหลังด้านใน หรืออาจปรากฏอยู่ในเนื้อหาในใบแรกหรือ ใบสุดท้ายของวารสาร แล้วแต่การจัดรูปแบบของกองบรรณาธิการประจำวารสาร สิ่งที่สำคัญคือผู้เขียนบทความวิจัยควรปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของวารสารอย่างเคร่งครัด
การเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ
ความหมายนิพนธ์ต้นฉบับ
          การเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับก็คือ การร่างต้นฉบับเอกสารงานวิจัยที่ย่อความจากฉบับเต็ม ให้มีสาระครบถ้วน เพื่อนำนิพนธ์ต้นฉบับส่งให้บรรณาธิการวารสารตรวจสอบและพิจารณาในการรับลงตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ถ้าไม่ถูกต้องเหมาะสมทางกองบรรณาธิการจะส่งคืนให้นำไปปรับปรุงแก้ไขหรือ ถ้าไม่ดีมาก ๆ อาจถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์เพราะจะทำให้วารสารนั้นด้อยคุณค่าไปด้วย ถ้านิพนธ์ต้นฉบับได้รับการยอมรับจากกองบรรณาธิการและลงตีพิมพ์ในวารสารแล้วจึงเรียกผลงานนั้นว่าเป็น Full Paper ที่ผู้อ่านสามารถนำไปอ้างอิงได้
เทคนิคการจัดทำนิพนธ์ต้นฉบับ
การเขียนงานวิจัยในรูปบทความวิจัยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ส่วนที่เป็นศาสตร์คือผู้วิจัยต้องเขียนเนื้อหาให้ถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเฉพาะด้านการใช้ภาษา ส่วนที่เป็นศิลป์ คือผู้วิจัยต้องเขียนด้วยภาษาที่ง่าย อ่านแล้วเพลิดเพลินชวนให้อ่านจนจบ มีความกลมกลืนของเนื้อหา
การจะเขียนให้ครอบคลุมและชวนให้น่าอ่านมีเทคนิคการเขียนนิพนธ์ต้นฉบับดังขั้นตอน
ขั้นตอนแรก เป็นขั้นเตรียมการ  เริ่มจากการกำหนดประเด็น หัวข้อบทความวิจัยและวารสารที่จะไปลงตีพิมพ์ พร้อมทั้งต้องศึกษาข้อแนะนำการเตรียมต้นฉบับของวารสารนั้น
ขั้นตอนที่สอง ขั้นวางแผน  ในขั้นตอนนี้ดำเนินการหลังจากตัดสินเลือกวารสารที่จะส่งตีพิมพ์แล้ว  และจัดทำโครงร่างที่เป็นการจัดการความคิด การเรียบเรียงเนื้อหาสาระอื่นประกอบด้วย ประเด็นหลัก ประเด็นรอง การลำดับเนื้อตามความสำคัญ ทำให้การเขียนเนื้อหาจริง ไม่วกวนไปมาหรือมีเนื้อหาที่น้อยไปหรือมากไป  การจัดทำโครงร่าง ควรเขียนเป็นตอนซึ่งตามรูปแบบ (format) ตามสากลนิยมก่อนของนิพนธ์ต้นฉบับก่อนเพื่อจะได้หัวข้อหลัก ซึ่งตามหลักสากลการเขียนรายงานวิจัยมีหัวข้อหลักคือ บทนำ(Introduction) วิธีการและวัสดุ (Method and Materials) ผล (Results) วิจารณ์และข้อเสนอแนะ (Discussion) และนำหลักนี้มากำหนดหัวข้อเนื้อหาในการเขียนโครงร่างมีดังนี้
                บทนำ
วิธีการ
ผล
วิจารณ์

           ขั้นตอนที่สาม ขั้นทบทวนแผน โดยการทบทวนโครงร่างที่เขียนขึ้นครั้งแรกว่าประเด็นในโครงร่างมีความครอบคลุมครบถ้วนหรือยัง ถ้ายังไม่ครบถ้วนให้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ก่อน หรือประเด็นใดไม่มีความสำคัญสามารถตัดออกก่อนได้
           ขั้นตอนที่สี่  ขั้นการจัดทำต้นฉบับ  โดยการลงมือเขียนรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ตามความเข้าใจจากการที่ได้จัดทำวิจัยด้วยตนเอง และไม่ควรคัดลอกข้อความเดิมมาทั้งหมดหรือบางส่วนแต่ควรเขียนเนื้อหาใหม่โดยการจับความจะทำให้การเขียนบทความวิจัยมีความกลมกลืนต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่ห้า ขั้นการประเมินต้นฉบับด้วยตนเอง  การทบทวนด้วยตนเองจะยังไม่อ่านทบทวนเลยภายหลังการเขียนต้นฉบับจบแล้ว ควรเก็บเอกสารไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงนำมาอ่านใหม่อีกครั้งก่อนลงมือแก้ไข และให้ผู้อื่นอ่านก่อนส่งให้กองบรรณาธิการตรวจสอบดังในขั้นตอนที่หก
           ขั้นตอนที่หก ขั้นการประเมินต้นฉบับด้วยบุคคลภายนอก   ในขั้นนี้ทางกองบรรณาธิการจะส่งบทความวิจัยให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตรวจสอบ แล้วจึงนำผลไปปรับรูปแบบการพิมพ์ตามข้อแนะนำของกองบรรณาธิการวารสาร

เทคนิคการเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับนี้สามารถใช้ได้กับการเขียนบทความวิชาการหรือการเขียนตำรา
จากการศึกษาข้อแนะนำหลัก ๆ ที่ปรากฏในวารสารทางวิชาการที่ได้มาตรฐานที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันคือ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้ายเรื่อง และเรียงลำดับหัวข้อในทั้งสามส่วนดังนี้
ส่วนนำ  ประกอบด้วย
ชื่อเรื่อง         (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ชื่อผู้นิพนธ์      (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
                    บทคัดย่อ      (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
คำสำคัญ      (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
       ส่วนเนื้อเรื่อง  ระกอบด้วย
           บทนำ
วิธีการดำเนินการวิจัย / วิธีการทดลอง
ผลการวิจัย / ผลการทดลอง
วิจารณ์
กิตติกรรมประกาศ
ส่วนท้ายเรื่อง
                     เอกสารอ้างอิง

แนวทางการเขียนเนื้อหารายละเอียด
           ในการเขียนรายละเอียดโดยสรุปในแต่ละหัวข้อควรเขียนให้กระชับให้ได้สาระโดยเขียนแบบย่อไม่ใช่ตัดต่อจากรายงานฉบับสมบูรณ์ แต่เป็นการเขียนใหม่โดยย่อ ประโยคเนื้อหาไม่จำเป็นต้องเหมือนฉบับเต็ม
ชื่อเรื่อง (Title)   ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรเขียนให้สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย
           ชื่อผู้นิพนธ์ (Author และ Co-authors) เขียนชื่อทุกคน พร้อมสังกัดและสถานที่ติดต่อ หมายเลข โทรศัพท์  ชื่อเขียนทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้า ทั้งยศ ตำแหน่งการบริหาร ตำแหน่งทางวิชาการ (ภาณุภัทร ลิ้มจำรูญ และคณะ (2552)
           บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  บทคัดย่อเป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมดอย่างย่อ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างคร่าว ๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องจึงต้องเขียนให้ครอบคลุมเนื้อหาโดยไม่แสดงรายละเอียด ทั้งนี้ความยาวของบทคัดย่อขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของกองบรรณาธิการวารสารต่าง ๆ ที่แนะนำไว้ โดยทั่วไปวารสารที่ได้มาตรฐานจะกำหนด ความยาวประมาณครึ่งหน้ากระดาษหรือประมาณ 150- 200 คำหรือ 250 คำ  เมื่อรวมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแล้วประมาณ 1 หน้ากระดาษ
คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นข้อความที่เป็นคำศัพท์หรือตัวแปรที่กล่าวถึงบ่อยครั้งในการวิจัย ส่วนใหญ่คำสำคัญจะปรากฏที่ชื่อเรื่อง หรือวัตถุประสงค์ การเขียนคำสำคัญจะมีประโยชน์ต่อการจัดทำรายการดัชนีสำหรับการสืบค้นข้อมูลของผู้อ่านและนำไปใช้ประโยชน์
           คำสำคัญ ชุดเครื่องมือ, คุณลักษณะอันพีงประสงค์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
บทนำ (Introduction) เป็นการเขียนนำเข้าสู่เรื่องที่เป็นปัญหาที่ต้องการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้คำตอบ การเขียนบทนำเพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจถึงความสำคัญที่ต้องทำวิจัยและกระตุ้นจูงใจให้ผู้อ่านต้องการอ่านรายละเอียดในส่วนอื่น ๆต่อไป บทนำเป็นส่วนแรกของส่วนเนื้อเรื่องที่บอกความเป็นมา เหตุผลที่ต้องทำการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย รวมถึงการรายงานวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นแนวคิดทฤษฎีและสรุปงานวิจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวความคิดและสมมุติฐานการวิจัยจะปรากฏในส่วนบทนำ โดย              ถ้าต้องการเขียนกรอบแนวความคิดควรจะเขียนในลักษณะความเรียงไม่ควรเขียนเป็นแผนภาพเหมือนใน           การเขียนในรายงานวิจัยฉบับสมสมบูรณ์ และถ้ามีศัพท์เทคนิคเฉพาะที่สำคัญที่ต้องการอธิบายสามารถเขียน         ในส่วนบทนำได้
                   วัสดุและวิธีการ(Materials and Method ) หรือ วิธีการดำเนินงานวิจัย(Methodology)
ในส่วนนี้เป็นการนำเสนอเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นคำตอบของโจทย์การวิจัยว่าได้มาจากการสุ่มหรือไม่สุ่ม ด้วยวิธีใด เครื่องมือการวิจัย คุณภาพเครื่องมือ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับงานวิจัยที่มีการใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ควรระบุถึงวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือนั้นใช้ได้กับการตรวจสอบในเรื่องใด การใช้สารเคมีควรระบุชื่อที่แสดงคุณสมบัติ ไม่ใช่ชื่อทางการค้า ปริมาณที่ใช้และแหล่งที่มา
                     วิจารณ์ (Discussion) เป็นการอธิบายความหมายของผลการวิจัยที่ค้นพบว่าเข้ากันได้หรือขัดแย้งกับความรู้ แล้วตีความหมายและวิจารณ์ผลที่ได้จากการวิจัยโดยให้เหตุว่าที่ไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน            อาจเนื่องจากสาเหตุใด ถ้าเป็นไปตามสมมุติฐานสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีหรือผลงานวิจัยเรื่องอื่นใดบ้าง        การนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดอย่างไร มีข้อบกพร่อง ข้อดี ข้อจำกัดอย่างไร และมีข้อเสนอแนะด้วยว่าควรศึกษาวิจัยต่อในลักษณะใดหรือใครจะนำผลส่วนใดไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง ในการเขียนวิจารณ์หรืออภิปรายผล      ไม่ควรเขียนผลการวิจัยซ้ำอีกครั้งเพราะเป็นการสิ้นเปลืองหน้ากระดาษ ไม่ต้องนำเสนอข้อมูลทั่วไป ข้อมูล              ส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่ไม่ตอบวัตถุประสงค์หรือสมมุติฐานการวิจัยมาวิจารณ์หรืออภิปราย ควรนำข้อมูลผลการวิจัยที่สำคัญจริง ๆมาวิจารณ์เพื่อนำไปสู่การยอมรับหรือปฏิเสธทฤษฎีอย่างชัดเจน หรือเพื่อการขยายผลสู่การนำไปใช้ต่อไป
                     กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)(หากมี) หรือ คำขอบคุณเป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งการเขียนควรให้ครอบคลุมสององค์ประกอบคือ ส่วนแรกขอบคุณแก่ผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในด้านทรัพยากรที่ใช้ในการวิจัยทั้งด้านอุปกรณ์ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือด้านความรู้ทางวิชาการในการทำวิจัยทำให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้ ส่วนที่สองเป็นการขอบคุณบุคคลที่สนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัย
         เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงเป็นการระบุแหล่งที่มาของแนวคิดหรือข้อมูลที่ปรากฏในรายงาน และทำรายการแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ซึ่งสามารถเขียนรายการแหล่งอ้างได้ การอ้างอิงในเนื้อหาตามหลักสากลที่นิยมใช้มีสองระบบ คือใช้ระบบนามปี ( Name Year System) ซึ่งเป็นระบบที่นำเสนอโดย American Psychological Association(APA)
การอ้างอิงแทรกไปในเนื้อหา (ระบุนาม-ปี) เป็นการอ้างอิงโดยแทรกปนไปกับเนื้อหาเป็นวิธีการหนึ่งที่ควรนำไปใช้ในการเขียนตำราเพราะประหยัดเนื้อที่การพิมพ์และการจัดทำรายละเอียดของเอกสาร แต่อาจเป็นที่น่ารำคาญสำหรับผู้อ่านเนื่องจากมีวงเล็บอ้างแทรกอยู่เป็นระยะปนไปทั่วในทุกหน้า
สำหรับระบบการอ้างอิงอีกระบบคือระบบตัวเลข (Citation order System )หรือระบบ          แวนคูเวอร์ ที่ใช้ตัวเลขกำกับท้ายข้อความ เช่น (1)  , ( 2 – 5 ) , ( 5 ,8,10-12)  สำหรับรายการอ้างอิงให้            จัดเรียงลำดับ ก่อนหลังตามการกล่าวอ้างตั้งแต่เริ่มเรื่อง  ซึ่งการอ้างอิงระบบนี้เริ่มมีความนิยมกันมากโดยเฉพาะในการวิจัยในสาขาทางการแพทย์ ที่มีการอ้างอิงเอกสารจำนวนมากจึงนิยมใช้ระบบนี้
หลักเกณฑ์สากลสำหรับพิจารณามาตรฐานบทความ 
  1. เกณฑ์พิจารณาด้านเนื้อหา ความถูกต้องทางวิชาการ
1.1 เนื้อเรื่องตรงกับ หัวข้อ/สาขา ที่วารสารนั้นต้องการ
1.2 มีความถูกต้อง เหมาะสม จากข้อเท็จจริงทางทฤษฎี
1.3 มีหลักฐานการอ้างอิงประกอบ เช่น สถิติ ข้อเสนอแนะผู้เชี่ยวชาญ
1.4 ข้อมูลที่เสนอมีความน่าเชื่อถือ อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกต ทดลอง สอบถาม
1.5 เนื้อหาที่นำเสนอตรงประเด็น ลำดับ ขั้นตอนา เชื่อมโยงต่อเนื่อง
1.6 มีความสละสลวยมีถ้อยคำที่เขียนสอดคล้องกัน
1.7 ข้อมูลทันสมัย อ้างอิงย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี
  1. เกณฑ์การพิจารณาด้านภาษา รูปแบบการเขียน
2.1 ภาษามีความชัดเจน ไม่กำกวม ฟุ่มเฟือย ประโยคสั้นแต่สื่อความหมายชัดเจน
2.2 ใช้ศัพท์วิชาการได้อย่างถูกต้อง
2.3 มีการเว้นวรรคตอนถูกต้อง
2.4 ภาพประกอบเหมาะสม
2.5 รูปแบบการเขียนเหมาะสม การแบ่งหัวข้อ การจัดลำดับเนื้อหา
  1. เกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงและการอ้าง ใช้ระบบ APA มีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 ชื่อวารสาร ชื่อหนังสือ และป ีที่ (volume) ใช้ตัวเอน และไม่ใช้ชื่อย่อ
3.2 เขียนชื่อผู้แต่งโดยขึ้นต้นด้วย last name ตามด้วยจุลภาค (,) และชื่อย่อตามด้วยมหัพภาค (.)
3.3 ชื่อไทยขึ้นต้นด้วยชื่อตัว ตามด้วยนามสกุล
3.4 กรณีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทั้งหมดทุกคน คั่นระหว่างชื่อด้วยจุลภาค (,) และ ใส่เครื่องหมาย & ก่อนชื่อสุดท้าย
3.5 ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อเรื่อง หรือชื่อวารสาร หรือชื่อหนังสือ ตามด้วยปีที่พิมพ์
3.6 ถ้าผู้แต่งเป็นหน่วยงาน หรือองค์กร ให้ใช้ชื่อหน่วยงานหรือองค์กรแทนชื่อผู้แต่ง
3.7 เรียงลำดับรายการตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง และมีเลขล าดับที่1, 2, 3…กำกับ
3.8 รายการที่มีทั้งเอกสารภาษาไทยและอังกฤษ ให้นำข้อมูลภาษาไทยขึ้นก่อน
3.9 รายการภาษาอังกฤษพิมพ์โดยใช้ Single Space
3.10 บรรทัดที่สองและบรรทัดต่อ ๆ ไปของแต่ละรายการให้ย่อหน้าเข้ามา 5 – 7 ตัวอักษร หรือประมาณครึ่งนิ้ว
3.11 การอ้าง – อ้างโดย (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) หรือชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์)
3.12 ไม่อ้างโดยใช้คำว่า “และคณะ” หรือ “และคนอื่น ๆ” หรือ et al. ไม่ว่าจะมีผู้แต่งกี่คน ยกเว้นกรณีอ้างในเนื้อเรื่องที่มีผู้แต่งตั้งแต่สามถึงห้าคนขึ้นไปและหลั
จากได้มีการอ้างครั้งแรกไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว หรือการอ้างที่มีผู้แต่งตั้งแต่หกคนขึ้นไป
3.13 การอ้างจากวารสารและนิตยสารให้ระบุหน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย โดยไม่ใช้คำย่อ “p.” หรือ “pp.” นอกจากหนังสือ
3.14 การติดต่อส่วนตัวโดยสื่อใด ๆ ก็ตาม สามารถอ้างอิงได้ในเนื้อเรื่อง แต่ต้องไม่มีการระบุไว้ในรายการเอกสารอ้างอิงเพราะผู้อื่นไม่สามารถติดตามข้อมูลเหล่านี้ได้
3.15 การอ้างจาก website ให้ระบุวัน เดือน ปีที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฏให้อ้างวันที่ทำการสืบค้นและระบุ URL ให้ชัดเจน ถูกต้อง เมื่อจบ URL address ห้ามใส่จุด (.) ข้างท้าย
3.16 website ไม่บอกวันที่ ให้ระบุ n.d.
เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพวารสารระดับชาติ/นานาชาติ (โยธิน แสวงดี)
           ผู้อ่านประเมินผลงานวิชาการและบทความวิจัย
                – ผู้อ่านประเมินผลงานวิชาการต้องมากกว่าหนึ่งคน เพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพวิชาการ วัดความสมดุลเนคุณภาพของชิ้นงาน และต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์หรือ ประเด็นนั้นอย่างแท้จริง
– มุ่งเน้นความสมบูรณ์ด้านระเบียบวิธีการวิจัย และเนื้อหาในเชิงทฤษฎีที่ได้จากงานวิจัยต้องผ่านผู้ประเมิน
– มีการระบุชัดเจนว่ามีการประเมิน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผลต้องได้มาตรฐานตามกรอบของวารสารที่มีระบบการอ้างอิงที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
– การอ้างอิงเน้นการต่อยอดความรู้ การบูรณาการในการเขียนและการผสมกลมกลืนกับแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่ผ่านมา คุณภาพภาษาและการสื่อความหมาย การใช้สัญลักษณ์ คำย่อ ตัวย่อ ฯลฯ ถูกต้องตามศาสตร์
เจ้าของหรือองค์กรที่ออกวารสาร
– มักออกโดยสมาคมวิชาชีพ คณะ มหาวิทยาลัย สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัย หรือบริษัทที่ทำงานด้านการพิมพ์ เน้นคุณภาพและเคร่งครัดในจรรยาบรรณการวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์ใช้สอยทางพาณิชย์ และความก้าวหน้าด้านวิชาการ เพื่อการสืบค้นต่อยอด
– ภาษาที่พิมพ์ ในประเทศควรสองภาษา ต้องออกตรงเวลาสม่ำเสมอ และมีประเด็นการเผยแพร่ที่ชัดเจนตรงตามเป้าหมายของศาสตร์
การเลือกวารสารทางวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัย
ความสำคัญของการตีพิมพ์เผยแพร่
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการเป็นการนำผลงานทางวิชาการที่มีการประมวลความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วนำมาเขียนอย่างสั้น  ๆ โดยคัดเลือกเฉพาะประเด็นทางวิชาการที่น่าสนใจสำคัญ และมีการขยายความรู้ ความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างเป็นระบบครบถ้วนมาลงตีพิมพ์                             ในวารสารวิชาการในรูปแบบของบทความทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยบทความในหลายลักษณะเช่น บทความวิจัย(Research Article) บทความวิจัยอย่างสั้น(Short Research Contribution or Short Communication) และ บทความปริทรรศน์ (Review article) บทความในวารสารจัดเป็นแหล่งความรู้              ที่มีความทันสมัยกว่าหนังสือ หรือตำราทั่วไปทั้งนี้อาจเนื่องมาจากขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดทำวารสารนั้นสั้นกว่า บทความวิชาการมีประโยชน์ต่อผู้เขียนด้วย เพราะบทความทางวิชาการเป็นเอกสารทางวิชาการ          มีความสำคัญต่อผู้ที่ทำหน้าที่สอน สามารถนำไปใช้ประกอบการขอผลงานทางวิชาการดังประกาศ                    ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กพอ.)  ที่กำหนดให้ผลงานทางวิชาการมีงานแต่ง เรียบเรียง               แปลหนังสือ หรือบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพดี
การเลือกวารสารเป้าหมาย
ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจากภายในและภายนอกประเทศที่ได้จัดทำวารสารเผยแพร่โดยเฉพาะวารสารวิชาการไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการก่อตั้ง ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในปี 2547เป็นต้นมา การเลือกวารสารที่ดี พิจารณาจาก การเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติหรือระดับนานาชาติ มีค่าดัชนีการอ้างอิงสูง (High total citations)  มีบทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ คำสำคัญ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ( peer reviewer) ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยในสาขานั้น ๆ และที่สำคัญควรเลือกวารสารที่มีขอบเขตของเนื้อหาตรงกับประเด็นวิจัย ที่ต้องการเผยแพร่ โดยพิจารณาจากการแจ้งบอกขอบเขตเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ของวารสาร หรือ อาจพิจารณาจากบทความวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในฉบับก่อน ๆ ว่ามีเนื้อหาตรงกับบทความที่ต้องการจะตีพิมพ์หรือไม่ เป็นวารสารที่ออกเผยแพร่ต่อเนื่องทุกปีตามกำหนดเวลาอย่างนน้อย 3 ปีติดต่อกัน โดยมีผู้ทรงคุณวุมิพิจารณาบทความอย่างน้อยบทความละ 2 คน
วารสารที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติต้องมี Impact Factor ต่อเนื่อง สอดคล้องตามเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับนานาชาติตามที่ สกอ. กำหนด หรือ เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ฐานข้อมูลใดฐานข้อมูลหนึ่ง เช่น ฐานข้อมูล  ISI (Institute for Scientific Information  ) ของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือฐานข้อมูลนานาชาติอื่น ๆ เช่น ฐานข้อมูล BIOSIS Databases, AGRICOLA, AGRIS, ASFA, FSTA, PubMed MEDLINE, POPLINE, INSPEC, MathSciNet,   CHEMICAL ABSTRACTS, BIOSIS DATABASES, SCOPUS
วารสารไทยหลายฉบับที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล เช่น ในฐานข้อมูล ISI Web of Sciemce (SCI) วารสารไทยที่ปรากฏชื่ออยู่คือ
  • Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology
  • ScienceAsia
  • Asian Biomedicine
  • Chiang Mai Journal of Science
  • Thai Journal of Veterinary Medicine
  • Southeast Asia Journal of Tropical Medicine and Public Health
  • Maejo International Journal of Science and Technology

วารสารไทยที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล SCOPUS
  • Journal of the Medical Association of Thailand
  • The Southeast Asia Journal of Tropical Medicine and Public Health
  • Asia Pacific Journal of Allergy and Immunology
  • Songklanakarin Journal of Science and Technology
  • Kasetsart Journal – Natural Science
  • Asia Pacific Journal of Cancer Prevention APJCP
  • ScienceAsia
  • Asia-Pacific Population Journal
  • Chiang Mai Journal of Science

นอกจากรายชื่อวารสารข้างต้นแล้วยังมีวารสารไทยอีกหลายเล่มที่ปรากฏรายชื่อในฐานข้อมูล        สากลอื่น ๆ
  • International Agricultural Engineering Journal
  • Thai Journal of Veterinary Medicine
  • Geotechnical Engineering (coverage discontinued in Scopus)
  • Kasetsart Journal – Social Sciences
  • EnvironmentAsia
  • Asian Biomedicine
  • Buffalo Bulletin
  • Chiang Mai University Journal of Natural Sciences
  • Maejo International Journal of Science and Technology
  • Thai Journal of Pharmaceutical Sciences
สำหรับวารสารที่ได้มาตรฐานในระดับชาติต้องมี Impact Factor ต่อเนื่อง หรือสอดคล้องตามเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการระดับชาติตามที่ สกอ. กำหนด  และควรปรากฏอยู่ในฐานข้อมลระดับชาติ คือฐานข้อมูล TCI ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) ฐานข้อมูลนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ( สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ขั้นตอนการรับบทความวิจัยแสดงได้ดังภาพ
หลักเกณฑ์ในการเลือกแหล่งเผยแพร่บทความวิชาการ
  1. วารสารที่จัดพิมพ์ต่อเนื่องทุกปี ตรงตามเวลา
  2. เป็นวารสารที่ออกต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
  3. กองบรรณาธิการประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ ปละสบการณ์ในวิชาชีพ
  4. มีผู้ทรงคุณวุฒิอ่านพิจารณาบทความอย่างน้อย 2 ท่าน
  5. ถูกนำไปทำดรรชนีวารสารไทย
  6. มีค่า impact factor สูง (วัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสารในแต่ละปี)
  7. มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  8. มีเอกสารอ้าวอิง
  9. มีรายชื่ออ้างอิงอยู่ในฐานข้อมูลของไทย หรือต่างประเทศ
สรุปการส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารใด ผู้วิจัยควรดำเนินการดังต่อไปนี้
  1. ทำงานวิจัยให้เสร็จสิ้นและ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจหรือ ได้ผลที่เป็นประโยชน์ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น
  2. เลือกวารสารที่ต้องการตีพิมพ์
  3. เขียนนิพนธ์ต้นฉบับตามรูปแบบของวารสารนั้น ๆ
  4. ตรวจทานร่วมกับผู้ที่ทำวิจัยร่วมกัน หรือบุคคลอื่น ๆ
  5. ปรับปรุง (หากมีปัญหาด้านภาษาควรตรวจสอบโดยเจ้าของภาษา)
  6. ตรวจทานทุก ๆ จุด
  7. ทำการส่งนิพนธ์ต้นฉบับไปยังวารสารเป้าหมาย
  8. รอผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ตรวจนิพนธ์ต้นฉบับ (Reviewers)
  9. แก้ไขตามความเห็น และ ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ตรวจนิพนธ์ต้นฉบับ (Reviewers)
  10. หากบทความได้รับการตอบรับ ดำเนินการตามเงื่อนไข เช่น copyright transfer, จ่ายเงินค่าตีพิมพ์
เช่น วารสารกลุ่มที่ 1 มีรายชื่อดังนี้
  • Applied Environmental
  • Kasetsart University Fisheries Research Bulletin
  • NIDA Case Research Journal
  • Pacific Rim International Journal of Nursing Research
  • วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
  • วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต
  • วารสารวิจัย มข.
  • วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • วารสารวิจัย มสด สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  • วารสารวิจัยทางการศึกษา
  • วารสารวิจัยทางวิทยาศสาตร์สุขภาพ
  • วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง
  • วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข
  • วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.
  • วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
  • วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
  • วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง
  • วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
  • วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์
วารสารกลุ่มที่ 2 มีรายชื่อดังนี้
  • Journal of Supply Chain Management Research and Practice
  • วารสารจันทรเกษมสาร
  • วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย
  • วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา)
  • วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • วารสารวิจัยพลังงาน
  • วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่
  • วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่
  • วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร
  • วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • วารสารวิจัยรำไพพรรณี
  • วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
  • วารสารวิจัยสังคม
  • วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร
  • วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
  • วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
เอกสารอ้างอิง
ปัญญา ธีระวิทยเลิศ . (2558).  การเขียนรายงานและการเผยแพร่งานวิจัย สู่สาธารณชน.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สัมปชัญญะ.
ไพฑูรย์ สินภารัตน์.  (2552).  ตำราและบทความวิชาการ แนวคิดและแนวทางการเขียนเพื่อคุณภาพ.  ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โยธิน แสวงดี.  เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพวารสารระดับชาติ/นานาชาติ.  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.  มหาวิทยาลัยมหิดล

การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

“การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21”
          การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนไปสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทั้งครูและผู้เรียนที่มุ้งเน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าความรู้ โดยอาศัยฐานคิด “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ซึ่งประกอบด้วย 3 ทักษะสำคัญได้แก่
  1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ ดังนี้
1.1 ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม
1.1.1 การคิดอย่างสร้างสรรค์
1.1.2 ทำงานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
1.1.3 การสร้างนวัตกรรม
1.2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
1.2.1 การให้เหตุผลอย่างมีประสิทธิผล
1.2.2 การคิดอย่างเป็นระบบ
1.2.3 การไตร่ตรองและการตัดสินใจ
1.2.4 การแก้ปัญหา
1.3 การติดต่อสื่อสารและการร่วมมือ
1.3.1 การสื่อสารอย่างชัดเจน
1.3.2 การร่วมมือกับผู้อื่น
  1. ทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร เทคโนโลยี เป็นทักษะสำหรับผู้เรียนที่มีสื่อและเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่มากมาย เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้เรียนต้องสามารถปฏิบัติและใช้วิจารณญาณเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วย
2.1 ความรู้พื้นฐานด้านข้อมูล สารสนเทศ
2.1.1 การเข้าถึงและการประเมินข้อมูล สารสนเทศ
2.1.2 การใช้และการจัดการสารสนเทศ
2.2 ความรื้นฐานด้านการใช้สื่อ
2.2.1 การวิเคราะห์สื่อ
2.2.2 การผลิตสื่อ
2.3 ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยี
2.3.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ทักษะชีวิตและการทำงาน เป็นทักษะที่ผู้เรียนต้องให้ความสนใจกับการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะการทำงานอย่างจริงจังและเพียงพอประกอบไปด้วย
3.1 ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
3.1.1 มีความยืดหยุ่น
3.1.2 การปรับตัวเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
3.2 การริเริ่มและนำตนเอง
3.2.1 กำหนดเป้าหมายและการบริหารเวลา
3.2.2 การทำงานด้วยตนเอง
3.2.3 สารถามในการนำตนเอง
3.3 ทักษะทางสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
3.3.1 มีปฎิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้อื่น
3.3.2 ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทีมที่ความหลากหลาย
3.4 มีความสามารถในการผลิตและความรับผิดชอบ
3.4.1 การบริหารโครงการ
3.4.2 การคผลิตผลงาน
3.5 ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
3.5.1 นำผู้อื่นได้
3.5.2 รับผิดชอบต่อผู้อื่น
ทักษะข้างต้นนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยออกแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนดังนี้
  1. Learning Focus: ผู้สอนวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ ว่าผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถอะไรบ้าง
  2. 21st Century Skills : วิเคราะห์ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ต้องการบูรณาการในการเรียนรู้เรื่องนี้
  3. Task Description: ผู้สอนวิเคราะห์งานหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ระบุไว้ในขั้นที่ 2
  4. Tools to Use: ผู้สอนวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
  5. Evaluating My Learning: ผู้สอนวิเคราะห์วิธีการประเมินผู้เรียนทั้งการประเมินการเรียนรู้และประเมินความสามารถของผู้เรียน
  6. Thinking about My Learning: ผู้สอนตั้งคำถามที่ใช้สำหรับการสะท้อนความคิดจากสื่งที่เรียนและกระบวนการคิดที่ใช้ในการเรียน

การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเสริมสร้างสมรรถนะครูไทย ด้วยการเรียนการสอนแบบครุศึกษาฐานสมรรถนะ ผ่านกระบวนการ PLC (Professional Learning Community)

การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเสริมสร้างสมรรถนะครูไทย ด้วยการเรียนการสอนแบบครุศึกษาฐานสมรรถนะ ผ่านกระบวนการ PLC (Professional Learning Communi...