วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การจัดการเรียนรู้และงานวิจัยเพื่อรองรับประเทศไทย 4.0



การจัดการเรียนรู้และงานวิจัยเพื่อรองรับประเทศไทย 4.0

          สะเต็ม (STEM) เป็นองค์ความรู้ที่นามาใช้เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในหลายประเทศ เพราะสะเต็มเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในประเทศไทยได้มีการกาหนดสะเต็มไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และในสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้มีการนาแนวคิดสะเต็มมาจัดการเรียนรู้ตามความเข้าใจ และการตีความหมายของตนเอง ดังเช่น มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) ประเทศอังกฤษ ที่มีแนวคิดเกี่ยวกับสะเต็มว่า “สะเต็มเป็นการบูรณาการองค์ความรู้เป็นหนึ่งเดี่ยวของ 4 สาระ คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เพื่อนาไปสู่การสร้างนวัตกรรม ทาให้การจัดการเรียนรู้ต้องพัฒนาทั้งผู้สอนที่ต้องมีการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมสาหรับการจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มเพื่อนาไปสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จาเป็นต่อสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 คือ สังคมดิจิทัล สังคมชีวภาพ สังคมหุ่นยนต์ สังคมขนส่งอัจฉริยะ สังคมปัญญาประดิษฐ์ และสังคมโลกเสมือนจริง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การทางาน การทาธุรกรรมต่างๆ การเดินทางท่องเที่ยว ระบบการขนส่ง การแพทย์ การดูแลสุขภาพ การบริการ และการจัดการระบบสารสนเทศ” แต่การถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวความคิดเกี่ยวกับสะเต็มไปสู่ผู้เรียนยังเป็นปัญหาสาหรับผู้สอนที่ไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จึงแก้ไขปัญหาด้วยการทาวิจัยแบบผสม (Mixed Method) เพื่อสืบค้นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดสะเต็มไปสู่ผู้เรียนในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. คุณลักษณะของผู้สอนที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้สะเต็ม
2. เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละสาระของสะเต็ม
3. วิธีการสื่อสาร การถ่ายทอดเนื้อหา คาศัพท์ การสร้างความเข้าใจระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
4. ความเหมาะสมของหลักสูตรสะเต็ม ทั้งด้านเนื้อหา ระยะเวลา จานวนชั่วโมงการสอน กระบวนการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการสอน และการส่งเสริมการคิด
5. ผู้เรียนมีความสนใจและมีความต้องการที่จะเรียนรู้สะเต็มหรือไม่
ทั้งนี้ การพัฒนา CRU Model ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 และการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย 4.0 สามารถนาสะเต็มมาผสมผสานได้เช่นเดียวกัน เพราะจุดมุ่งหมายของ CRU Model มุ่งส่งเสริมการคิด งานวิจัย และการสร้างนวัตกรรมทั้งผู้สอนและผู้เรียน โดยใช้ทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 เป็นพื้นฐาน ทั้งทักษะเพื่อการดารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ รวมทั้ง การจัดสาระการเรียนรู้ต้องเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหา และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นาไปใช้ได้จริง ซึ่งวิธีการส่งเสริมให้ผู้สอนและผู้เรียนมีคุณลักษณะตาม CRU Model สามารถดาเนินการได้ ดังนี้
1. ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดผลิตภาพ และคิดรับผิดชอบ
2. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย จัดการชั้นเรียนให้มีความสุข และนิเทศการสอนแบบพี่เลี้ยงผ่านกระบวนการ PLC
3. พัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยี ความสนใจใฝ่รู้และมีจินตนาการ การคิดวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ การคิดเชิงธุรกิจและทักษะประกอบการ และทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการสนใจต่อโลก
4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดวิจารณญาณเป็นฐาน ใช้ปัญหาเป็นฐาน กรณีศึกษาเป็นฐาน การวิจัยเป็นฐาน โครงการเป็นฐาน ผลิตภาพเป็นฐาน ทีมเป็นฐาน กิจกรรมเป็นฐาน ชุมชนเป็นฐาน และให้ผู้เรียนตกผลึกด้วยตนเอง
5. ส่งเสริมให้ผู้สอนทาวิจัยที่มีหัวข้อสอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 คือ หัวข้อเกี่ยวกับเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้ จิตวิญญาณความเป็นครู เทคโนโลยีดิจิทัล และพหุภาษา ซึ่งแนวทางหัวข้อวิจัยสามารถดาเนินการได้ในหลายลักษณะ เช่น
- การพัฒนาทักษะการคิดในลักษณะต่างๆ
- การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะนักศึกษาในศตวรรษที่ 21
- การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
- การสร้างแบบวัดคุณลักษณะทางจิตวิทยาสาหรับครูหรือสถานศึกษา
- การพัฒนาความรู้ทางการประเมินของนักศึกษาครู
- การพัฒนารูปแบบ ICT สาหรับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21
- การพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้ทางด้านภาษา
- การพัฒนารูปแบบการออกกาลังกายสาหรับเด็กและผู้สูงอายุ
- การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในยุคประเทศไทย 4.0
- การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 สาหรับผู้เรียน
- การพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้และสื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

24 พฤษภาคม 2560
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

การประเมินผลที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา


การประเมินผลที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ กาหนดคุณวุฒิไว้ 6 ด้าน ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เสริมคุณลักษณะดังกล่าวซึ่งแล้วแต่ธรรมชาติเนื้อหาของแต่ละรายวิชาว่าควรส่งเสริมทักษะหรือคุณลักษณะใด และมีการวัดผลในคุณลักษณะทั้ง 6 ด้าน ดังตัวอย่างการมสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะผู้เรียน ดังนี้

          1. การสร้างเครื่องวัดคุณลักษณะด้านคุณลักษณะคุณธรรมและจริยธรรม
เครื่องวัดคุณลักษณะด้านคุณลักษณะคุณธรรมและจริยธรรม สามารถสร้างเครื่องมือเพื่อให้ผู้เรียนประเมินตนเองหรือสร้างเครื่องมือเพื่อให้ผู้สอนประเมินผู้เรียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเสริมสร้างสมรรถนะครูไทย ด้วยการเรียนการสอนแบบครุศึกษาฐานสมรรถนะ ผ่านกระบวนการ PLC (Professional Learning Community)

การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเสริมสร้างสมรรถนะครูไทย ด้วยการเรียนการสอนแบบครุศึกษาฐานสมรรถนะ ผ่านกระบวนการ PLC (Professional Learning Communi...